กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดกาแฟคั่วซึ่งได้จากต้นกาแฟ นิยมดื่มร้อน ๆ แต่สามารถดื่มแบบเย็นได้ด้วย บางครั้งนิยมใส่นม หรือครีมลงในกาแฟด้วย ในกาแฟหนึ่งถ้วยมีคาเฟอีนอยู่ประมาณ 80-140 มิลลิกรัมกาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับ ชา และน้ำ นอกจากนี้ กาแฟยังเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีการส่งออกมากเป็นอันดับที่หกของโลก โดยกาแฟ ออกฤทธิ์เป็นคาเฟอีนเราจะสังเกตว่า… เหตุใดทำไมบางคนกินกาแฟแล้ว ไม่ได้มีเอฟเฟคต่าง ๆ ตามมาอย่างเช่น… แทนที่กินกาแฟแล้วนอนไม่หลับ กลับเป็นหลับสบายมีผลการวิจัยออกมาว่า… ร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งจะมียีนที่ต่างกันออกไปโดยสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ1. Fast Metabolism – เผาผลาญคาเฟอีนออกจากร่างกายได้เร็วกว่าปกติ2. Slow Metabolism – เผาผลาญคาเฟอีนออกจากร่างกายได้ช้ากว่าปกติ
ดอยตุง ผลิตกาแฟสายพันธ์ใหม่
เพื่อยกระดับคุณภาพกาแฟไทยสู่ความพรีเมียม โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ภายใต้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จัดกิจกรรมเปิดตัวกาแฟเกรด “Specialty” 4 สายพันธุ์ เป็นครั้งแรก ฉัฐรินทร์ ธรรมชัยโรจน์ นักชิมกาแฟชั้นแนวหน้าของเมืองไทย เจ้าของรางวัลระดับสากล 2nd Placed Cup Tasters Championship (Victoria Southern Regional) ประจำปี 2016 จากประเทศออสเตรเลีย ในฐานะ Coffee Specialist Consultant กาแฟดอยตุง กล่าวว่า กาแฟสุดพิเศษนี้ เป็นผลผลิตที่โครงการพัฒนาดอยตุงทำการวิจัยและพัฒนาเอง โดยใช้เวลานานกว่า 3…
รู้หรือไม่ว่ากาแฟมีประโยชน์และโทษอย่างไรบ้าง
การดื่มกาแฟทุกวันนั่นส่งผลดีและผลเสียต่อสุขภาพของเราอย่างไรบ้าง มีใครรู้หรือไม่ หรืออาจจะรู้แค่ว่า ดื่มกาแฟแก้ง่วง นี้เป็นประโยชน์. ดื่มกาแฟมากไปทำให้แก่เร็ว นี้เป็นโทษ แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆแล้วประโยชน์และโทษของกาแฟมีเยอะกว่าที่เราคิด ประโยชน์ของกาแฟ เมล็ดกาแฟถูกนำมาผลิตจนเป็นเครื่องดื่มที่แพร่หลายไปทั่วโลก ในประเทศไทยมีการผลิตกาแฟอาราบิก้าและกาแฟโรบัสต้าได้มากพอ ทำให้บางปีก็มีการส่งออกไปขายยังต่างประเทศด้วย แต่ยังต้องมีการนำเข้ากาแฟคุณภาพดีเข้ามาผสม เพื่อใช้ผลิตเป็นผงกาแฟสำเร็จรูปสำหรับการบริโภคในประเทศเช่นกัน กาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นตัวช่วยต้านสารพิษที่เกิดจากภายในและภายนอกร่างกาย ช่วยขับไล่ความแก่ชรา แม้ว่าร่างกายจะต้องการออกซิเจนมากก็จริง แต่ถ้ามีออกซิเจนมากเกินไปก็อาจทำให้มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งสูงและทำให้แก่ชราเร็ว โดยเฉพาะในกาแฟที่เข้มข้นจะทำให้ออกไซด์แตกตัวและลดการเกิดมะเร็งได้ ปริมาณที่เหมาะสมของคาเฟอีนที่มีอยู่ในกาแฟสามารถช่วยกระตุ้นให้สมองเกิดการตื่นตัว ช่วยเร่งความเร็วในกระประมวลผลข้อมูลในสมอง จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงานที่ต้องใช้สมาธิ ใช้เหตุผลและความจำ ส่วนกลิ่นหอมของกาแฟก็ช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานได้เร็ว มีสมาธิ และมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้นได้เช่นกัน (เนื่องจากกลิ่นของกาแฟสามารถทำให้เลือดไหลเวียนในสมองเพิ่มขึ้นได้) ซึ่งจากงานวิจัยจากภาครังสีวิทยาของอเมริกาเหนือ ที่ได้พบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2 แก้ว จะสามารถช่วยพัฒนาความจำและปฏิกิริยาการโต้ตอบที่ดีขึ้นได้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่ระบุว่าผู้หญิงที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เมื่อดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 3 แก้ว จะมีความจำที่ดีขึ้นกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มหรือดื่มกาแฟน้อยกว่านี้ ช่วยลดอาการเมื่อยล้าจากการออกกำลังกาย มีการสันนิษฐานกันว่าคาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งของสารสื่อประสาทเคทีโคลามีน ซึ่งจะไปกระตุ้นการสลายไขมันในเนื้อเยื่อให้เกิดเป็นหลังงาน คาร์โบไฮเดรตที่อยู่ในรูปของไกลโคเจนจึงยังเป็นแหล่งพลังงานสำรองที่สะสมในกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายมีความทนทานต่อการทำกิจกรรมต่าง…
เตือนสายพันธุ์กาแฟอาจสูญพันธุ์
ข้อมูลนี้ไม่น่าจะเป็นข่าวดีเท่าไหร่ สำหรับคอกาแฟทั่วโลก เมื่องานวิจัยซึ่งเผยแพร่ในวารสารการแพทย์และชีวภาพระดับโลก ระบุว่า การอนุรักษ์กาแฟป่าของทั่วโลกยังไม่เพียงพอ ที่จะช่วยให้สายพันธุ์กาแฟป่า 75 สายพันธุ์ รอดพ้นจากการถูกคุกคามและอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ แถมยังมีเมล็ดพันธุ์กาแฟแค่ 50% เท่านั้นที่ถูกเก็บไว้ในธนาคารเมล็ดพันธุ์กาแฟ กาแฟป่าส่วนใหญ่เติบโตในภูมิประเทศเขตร้อน เช่น ในอินเดีย ศรีลังกา และในบางพื้นที่ของออสเตรเลีย และในจำนวนสายพันธุ์กาแฟที่เสี่ยงสูญพันธุ์ รวมถึงกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า ที่ถูกขึ้นบัญชีแดงไว้ในไอยูซีเอ็น ซึ่งเป็นดัชนีรายชื่อที่สมบูรณ์ที่สุดของสายพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆในกระบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติ จากปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้จำนวนพืชมีแนวโน้มลดลงมากถึง 50% กาแฟที่จำหน่ายทั่วโลกส่วนใหญ่เน้นสองสายพันธุ์ คือ อาราบิก้า และ โรบัสต้าแต่ยังมีกาแฟอีก 122 สายพันธุ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในป่า ซึ่งกาแฟป่าเหล่านี้อาจมีรสชาติไม่ดีแต่มียีนที่สามารถควบคุมได้ซึ่งช่วยให้สายพันธุ์กาแฟเหล่านี้อยู่รอดได้ท่ามกลางภาวะเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทั่วโลก